เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [5.อินทริยวิภังค์] 1.อภิธรรมภาชนีย์
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์1 (11)
โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์2 (12)
โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์3 (13)
อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์4 (14)
สัทธินทรีย์ เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์5 (15)
วิริยินทรีย์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์6 (16)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/560/158 2 อภิ.สงฺ. 34/18/24
3 อภิ.สงฺ. 34/417/116 4 อภิ.สงฺ. 34/154/47
5 อภิ.สงฺ. 34/12/23 6 อภิ.สงฺ. 34/13/23

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :200 }